วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แนวทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยให้สูงขึ้น

          ปัจจุบันคุณภาพของการศึกษาไทยคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังพัฒนาไปอย่างล้าช้ามาก เมื่อเปรียบเทียบเม็ดเงินงบประมาณมหาศาลที่รัฐจัดสรรให้ในแต่ละปี ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการบริหารจัดการที่ไร้ประสิทธิภาพในระดับนโยบาย ที่ไม่สามารถทำได้จริง จึงส่งผลต่อเนื่องกันมาเป็นลูกโซ่ต่อครู ตลอดจนปลายน้ำที่สำคัญ นั่นคือ ผู้เรียน ซึ่งในขณะนี้ ประเด็นใหญ่ที่ทำให้วงการการศึกษาของไทยตกเป็นจำเลยสังคม คงหนีไม่พ้นผลการประเมินด้านการคิดวิเคราะห์ที่ยังอยู่ในระดับต่ำนั่นเอง


          ในบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา แนวทางสำคัญแรกเริ่มเพื่อการพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น จึงอาจต้องเริ่มต้นอย่างเป็นระบบ เช่น เน้นการบริหารในหลากหลายมิติ หรือการสร้างความมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการศึกษา เป็นต้น อีกหนึ่งแนวทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารสถานศึกษา คือ การนำผลการประเมินภายนอกของ สมศ. มาเป็นแนวทางในการพัฒนา กล่าวคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีภาวะผู้นำในการบริหารจัดการ (Managed Leadership) โดยการดำเนินการจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง ซึ่งยึดหลักการมีส่วนร่วม 8 ประการ ดังนี้

1. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
2. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ
3. การจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา
4. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาสถานศึกษา
5. การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา
6. การประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานที่กำหนด
7. การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
8. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

          ทั้งนี้ นอกจากการดำเนินงานตามการจัดระบบประกันคุณภาพภายในแล้ว ในบทสรุปสำหรับผู้บริหาร ของสมศ. จะเป็นกุญแจสำคัญในการส่งเสริมจุดเด่น เน้นพัฒนาจุดด้อยของสถานศึกษาเพื่อการรองรับการประเมินในครั้งต่อไปได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น เมื่อสมศ.มีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ในประเด็น ผลการประเมินด้านการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนอยู่ในระดับต่ำ ผู้บริหารสถานศึกษา จึงควรเร่งสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าว โดยการประชุมหารือเพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ทั้งนี้ ภาระงานหลักจึงอยู่ที่การพัฒนาครูให้มีทักษะในการใช้เทคนิค วิธีการสอน ที่เน้นการคิดวิเคราะห์เป็นสำคัญ การสร้างแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการกำหนดปัญหา เพื่อเน้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์แก้ปัญหาต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพได้


          ดังนั้น ผู้บริหารจึงมีความจำเป็นต้องเน้นกระบวนการของการทำงานเป็นกลุ่ม ทำงานอย่างมีระบบ และทุกคนต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง การนำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป นั่นหมายถึงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) ที่ทุกกิจกรรม / โครงการ ต้องมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การยกระดับคุณภาพผู้เรียนทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการคิดวิเคราะห์ ผู้บริหารต้องส่งเสริมด้านปัจจัย (4M) ให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สรรหาให้เพียงพอ ประการสำคัญต้องมีระบบและกลไกการปฏิบัติงานตามแผน รวมทั้งติดตามกำกับการดำเนินงานอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

ตัวอย่าง การเขียนโครงการพัฒนาผู้เรียนด้านการคิดวิเคราะห์

โครงการ พัฒนาทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ ด้วยเทคนิค TASs Model

แผนงาน งานบริหารวิชาการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธงไชย สันติถาวรยิ่ง

ลักษณะโครงการ โครงการใหม่

ระยะเวลาดำเนินงาน ตลอดปีการศึกษา 2557

หลักการและเหตุผล :
          ในปัจจุบัน จากผลการตรวจสอบคุณภาพผลการประเมินของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประจำปี 2557 พบว่า ด้านการคิดของเด็กไทยยังอยู่ในระดับต่ำ จำเป็นต้องเร่งพัฒนาครูใหม่สามารถจัดกิจกรรม กระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสถานศึกษา และให้สังคมตัวเด็กเป็นเสมือนห้องปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะด้านนี้แก่เด็กไทยให้ได้

          จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสาม จาก สมศ. ของโรงเรียน.... พบว่า ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนอยู่ในระดับต่ำเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงควรเร่งการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาให้ผู้เรียนมีผลการประเมินด้านการคิดวิเคราะห์นี้ให้สูงขึ้น โดยอาศัยกระบวนการ TASs Model นั่นคือ T:Teacher, A:Administrater, S:Student และ s:Stackholder ซึ่งจะต้องสร้างความมีส่วนร่วมและผลักดัน ส่งเสริม พัฒนาอย่างเป็นระบบผ่านกลไกดังกล่าวข้างต้นนี้ อันจะส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อไป

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์การประเมินด้านการคิด วิเคราะห์ของผู้เรียนให้สูงขึ้น
          2. เพื่อพัฒนางานด้านวิชาการให้เป็นระบบ ยึดหลักการมีส่วนร่วม

ขั้นตอนการดำเนินงาน
          1. ศึกษาสภาพบริบทสถานศึกษา ด้านวิชาการ
          2. วางแผน ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการพัฒนา
          3. เสนอโครงการ
          4. ดำเนินการตามโครงการ ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
                    4.1 กิจกรรมพัฒนาครูสู่การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์เป็นสำคัญ
                    4.2 กิจกรรมนักคิดน้อย
                    4.3 กิจกรรมสร้างฝันนักคิด พิชิตปัญหา
                    4.4 กิจกรรมนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการพัฒนาการสอน ฯลฯ
          5. วัดและประเมินผลโครงการ
          6. สรุปผลและรายงานผล

เครื่องมือและวิธีการ
          1. แบบประเมินความพึงพอใจ
          2. แบบฝึกทักษะ
          3. แบบบันทึกการสังเกต
          4. ภาพถ่าย ฯลฯ

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ระบายสี วันแม่แห่งชาติ




คัดลอกลายมาจากรูปภาพที่อื่นนะครับ ไม่ทราบชื่อผู้ออกแบบ แต่ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ครับ เพื่อการศึกษาของเด็กไทย

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง คสช.ที่ 79/2557 แต่งตั้ง นายกมล รอดคล้าย เป็นเลขาธิการ กพฐ. แทน นายอภิชาติ จีระวุฒิ

คำสั่ง คสช. 79/2557



ให้นายปรีชา กันธิยะ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็น ที่ปรึกษาสำนักนายกฯ 


นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็น ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกฯ 


นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการการอุดมศึกษา เป็น ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกฯ 


นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เป็น ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกฯ 

นายอภินันท์ โปษยานนท์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็น ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 


นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็น ปลัดกระทรวงพลังงาน 


นายกำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา 


นายกมล รอดคล้าย รองเลขาธิการ กพฐ. เป็น เลขาธิการ กพฐ.

         เมื่อมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งตามคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
         ทั้งนี้ให้ข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวข้างต้น ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งนับแต่วันที่มีคำสั่งนี้

         ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2557

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

 ที่มา : มติชนออนไลน์ วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาการอ่านเพื่อการเรียนรู้ แนว PISA"

ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาการอ่านเพื่อการเรียนรู้ แนว PISA"
กลุ่มบูรพาพัฒน์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
วันที่ 4 กรกฎาคม 2557
ณ โรงเรียนรวมราษฎร์สามัคคี จังหวัดปทุมธานี

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.alro.go.th/alro/alro_prov/template/pubnews_2.jsp?provCode=28&publicNo=2&publicType=13




แนวคำถามข้อสอบ : PISA ช่วงชั้นที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 3 ชื่อบทความ  “น้ำหมักชีวภาพ”
รูปแบบข้อสอบ
คำถาม
สมรรถนะการอ่าน
ชนิดของบทความ
สถานการณ์
ตอบแบบเปิด
คำถามที่ 1 จากบทความน้ำหมักชีวภาพ ผลิตมาด้วยเหตุผลใด
การเข้าถึงและค้นสาระ
การบอกเล่า อธิบาย เหตุผลชี้แจง
เพื่อสาธารณะ
ตอบจากตัวเลือก
คำถามที่ 2 น้ำหมักชีวภาพสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืชได้นั้น ต้องใช้ระยะเวลาหมักประมาณกี่วัน
1. 120 วัน
2. 150 วัน
3. 180 วัน
4. 200 วัน
การบูรณาการและตีความ
ตอบจากตัวเลือก
คำถามที่ 3 ข้อใดกล่าวผิด
1. น้ำหมักชีวภาพ มีธาตุอาหารอยู่มากมาย เหมาะแก่การเกษตร
2. น้ำหมักจากผลไม้ในระยะเริ่มแรกจะเป็นแอลกอฮลล์
3. น้ำหมักชีวภาพไม่สามารถนำมาใช้ดื่มหรือกินได้
4. น้ำหมักชีวภาพกับเอ็นไซม์เป็นสิ่งเดียวกัน
การเข้าถึงและค้นคืนสาระ
ตอบจากตัวเลือก
คำถามที่ 4 หน่วยงานใดเป็นผู้รับรองคุณภาพของน้ำหมักชีวภาพ
1. มอก.
2. อย.
3. ISO
4. ถูกทุกข้อ
การบูรณาการและตีความ
รูปแบบข้อสอบ
คำถาม
สมรรถนะการอ่าน
ชนิดของบทความ
สถานการณ์
ตอบแบบเปิด
คำถามที่ 5 จากข้อความ “ถ้าหากจะนำ น้ำหมักชีวภาพมาใช้ในครัวเรือนหรือการเกษตร ลองทำง่ายๆ ด้วยตัวเอง ก็จะปลอดภัยและประหยัดที่สุด” นักเรียนจงทำเครื่องหมายวงกลมล้อมรอบข้อความข้างล่างต่อไปนี้ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลโดยอธิบายที่สอดคล้องกับความคิดของนักเรียน จำนวน 2 ข้อ
        เห็นด้วย              ไม่เห็นด้วย           เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
1.  …………………………………………………………………
2.  …………………………………………………………………
* แนวคำตอบ
   - เห็นด้วย  1.) เพราะวัตถุดิบที่เลือกใช้จะมีความสะอาด ปลอดภัย
                    2.) เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายจากสารเคมีที่นำมาใช้ใน
                         การเกษตรได้
   -ไม่ เห็นด้วย  1.) เพราะขาดทักษะความรู้ในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ
                         2.) เพราะไม่สามารถหาวัตถุดิบมาใช้ในการหมักได้
การสะท้อนและประเมิน
การบอกเล่า อธิบาย เหตุผลชี้แจง
เพื่อสาธารณะ


ตารางการจำแนกกลยุทธ์การอ่าน ตามแนว PISA
บทความ “น้ำหมักชีวภาพ”
คำถามข้อที่
กลยุทธ์การอ่าน
การเข้าถึงและค้นคืน
การบูรณาการและตีความ
การสะท้อนและประเมิน
1.
/


2.

/

3.
/


4.

/

5.


/
รวม
2
2
1


เรียบเรียงโดย ครูธงไชย  สันติถาวรยิ่ง
ตำแหน่ง ครู สพฐ. ศธ.

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สรุปสาระสำคัญ"เสียงกู่จากครูใหญ่"


          จากวีดีโอคลิปที่ได้รับชมนี้ ทำให้เห็นได้ว่า "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็มักจะอยู่ที่นั่น" กล่าวคือ เมื่อแรกเริ่มเดิมทีที่ครูใหญ่ได้เดินทางเข้ามาในหมู่ย้านแห่งนี้ ครูใหญ่ไม่ได้รับการต้อนรับหรือยอมรับจากชาวบ้านในหมู่บ้าน แต่ด้วยความที่ครูใหญ่มีภาวะผู้นำที่มุ่งพัฒนาการศึกษา ยังผลต่อประโยชน์แก่ผู้เรียนอย่างแท้จริง ในภายหลังครูใหญ่ท่านนี้จึงได้รับการยอมรับในที่สุด
          บุคลิกลักษณะของครูใหญ่ท่านนี้ ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเครื่องแบบ นั่นแสดงถึงให้เห็นว่า "เครื่องแบบที่ใส่ ไม่ได้แสดงถึงภาวะความเป็นผู้นำ" แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อครูใหญ่ในเวลานี้คือการสร้าง "ศรัทธา" ให้เกิดขึ้น ผ่านรูปแบบกระบวนการให้ระยะเวลาและผลของการปฏิบัติงานเป็นเครื่องพิสูจน์ ดั่งคำพูดที่ว่า "ระยะทางพิสูจน์ม้า ระยะทางพิสูจน์คน"
          ข้อคิดหรือหลักการที่ได้รับจากการบริหารงานของครูใหญ่ สามารถอธิบายได้พิสังเขป ดังนี้

  1. ก่อนเริ่มกระบวนการปฏิบัติงานใดๆ เพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ นั่นคือ การประชุม สร้างความเข้าใจให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จากนั้นจึงร่วมกันวางแผนการดำเนินงานจัดการศึกษา ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ คณะกรรมการสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน เป็นต้น
  2. จากคำขวัญของครูใหญ่ที่ว่า "การทำงานหนักเป็นดอกไม้ของชีวิต" เปรียบเสมือน คำขวัญปลุกใจ เป็นวิสัยทัศน์ สร้างแรงจูงใจให้เกิดแรงขับเคลื่อน ด้วยการใช้ศาสตร์และศิลป์การจูงใจ ให้ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด ด้วยความอดทน มุมานะและมีความพยายาม
  3. เป็นผู้นำต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยว มั่นคง และหนักแน่น โดยวิเคราะห์จากเหตุการณ์ที่ภรรยาของครูใหญ่ได้มาเยี่ยมที่โรงเรียน และได้เห็นสภาพความเป็นอยู่และการทำงาน ก็ได้พยายามพูดจาหว่านล้อมให้เลิกความตั้งใจเหล่านั้นเสีย แต่ครูใหญ่ก็ไม่ลดความพยายาม และความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ รวมถึงการศึกษาของหมู่บ้านแห่งนี้
  4. สร้างแรงจูงใจแก่เพื่อนร่วมงาน แม้ครูใหญ่จะมีนโยบายรับนักเรียนเพิ่ม แต่จำนวนครูยังมีเท่าเดิม เพียง 2 คน ก็ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เพราะครูใหญ่มีการใช้ศาสตร์และศิลป์ในการใช้วาทศิลป์ สร้างแรงจูงใจและขวัญกำลังใจแก้ผู้ร่วมงานอยู่เสมอ ครูเหล่านี้จึงมีความสุขในการทำงานและก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างมาก
  5. "ความพยายามเป็นหนทางแห่งความสำเร็จ" ในการสร้างโรงเรียนนั้น ผู้ปกครองและชุมชน รวมถึงนักเรียนยังไม่เห็นความสำคัญ อีกทั้งยังไม่ให้การสนับสนุนหรือความร่วมมือใดๆ แต่ครูใหญ่ก็ไม่ยอมละความพยายาม มุ่งมั่นดำเนินการสร้างโรงเรียนต่อไปด้วยแรงที่มีกับมือสองมือ คนวันหนึ่งที่มีนักเรียนเข้ามาช่วยเหลือ ก็ทำให้ชาวบ้าน ผู้ปกครอง และนักเรียนคนอื่นๆ ทนดูต่อไปไม่ไหว ก็ได้เข้ามาร่วมมือร่วมใจกันสร้างจนประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งนั้นก็มาจากครู ที่ศรัทธาต่อครูใหญ่ท่านนี้ที่เห็นแล้วว่า มีความตั้งใจ มุ่งมั่นเพื่อโรงเรียนอย่างแท้จริง
  6. จากเรื่อง "ทุกๆที่เป็นแหล่งเรียนรู้ได้" การริเริ่มโครงการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ ทำให้ชุมชนเกิดรายได้มีฐานะมั่นคง เกิดอาชีพ ที่สำคัญคือ เกิดทักษะการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ผ่านกุศโลบายของครูใหญ่ที่แทรกซึมจากการเสริมแรงด้วยคะแนน การตรวจสอบและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง จากนักเรียน สู่ครอบครัวนักเรียน ตลอดจนครอบคลุมทั้งหมู่บ้านในที่สุด
  7. ผู้นำต้องยึดหลักการพึ่งพาตนเองและความพอเพียง โดยไม่รอให้หน่วยงานใดมาให้ความช่วยเหลือ แต่เมื่อได้ผลสัมฤทธิ์ที่มีคุณภาพ ก็จะทำให้หน่วยงานอื่นๆ ประชาสัมพันธ์และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆเอง
  8. ผู้บริหาร ครู ต้องสร้างทัศนคติต่อนักเรียน ให้อยากมาโรงเรียนและมีความสุข กระตุ้นความกระหายการเรียนรู้ ที่ไม่ได้อยู่แค่ในตำราเท่านั้น
  9. สร้างความสามัคคีให้แก่ชุมชน โรงเรียน และนักเรียนผ่านกระบวนการทางกีฬาสร้างความสัมพันธ์ ที่ไม่ได้มุ่นแต่เอาชนะหรือแพ้ แต่เป็นการสร้างความสัมพันธ์กระชับมิตร ปลูกฝังการมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย 
  10. ผู้นำทางการบริหารโรงเรียน ต้องมีความสามารถในการแสวงหาและระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา อันจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับโอกาสในการเข้าถึงการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่ผู้เรียนให้เป็นผู้เรียนที่มีคุณภาพ
          สุดท้ายนี้ จะเห็นได้ว่าคุณลักษณะและคุณสมบัติของผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำนั้น มีอยู่มากมาย ขึ้นอยู่กับการเลือกนำไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆให้เหมาะสม ครูใหญ่ท่านนี้ จึงจัดได้ว่าเป็น "ผู้บริหารที่มีคุณลักษณะและคุณสมบัติของผู้นำที่มุ่มพัฒนาการศึกษาผ่านนวัตกรรมทางความคิด ความอดทน และความพยายามอย่างสร้างสรรค์ ปฏิบัติงานภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ แต่ก็ดำเนินงานได้จนประสบความสำเร็จและได้รับการยกย่องในที่สุด"

เรียบเรียงโดย ครูธงไชย  สันติถาวรยิ่ง
ตำแหน่งครู สพฐ. ศธ.